GULF CMWTE ผนึกกำลังชุมชนบ้านทุ่งยาว ดอยสะเก็ดฯ ลด PM 2.5 ทำแนวกันไฟ คืนสมดุลให้ป่าด้วยจุลินทรีย์

 

วันที่ 23  มีนาคม 2568  ปัญหาไฟป่า และ PM 2.5  ในภาคเหนือ และจังหวัดเชียงใหม่ ที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ในช่วงฤดูแล้ง นับว่าเป็นปัญหาวิกฤติมาอย่างต่อเนื่อง  สำหรับชุมชนที่โดดเด่นในการแก้ปัญหาดังกล่าวแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ คือ ชุมชนบ้านทุ่งยาว ต.ป่าป้อง  อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ นำโดย ท่านกำนันสมพงค์ เจริญศิริ กำนันตำบลป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ และ ได้ผนึกกำลังกับ กลุ่มบริษัท GULF และ โครงการโรงไฟฟ้าขยะฯ บริษัทเชียงใหม่เวสท์ ทู เอ็นเนอร์จี จำกัด ( CMWTE )  นำโดย นายจิรศักดิ์ มีสัตย์ ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ ฯ และ  ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน  นักวิชาการในการร่วมส่งเสริมกับชุมชน จัดโครงการ ฯ และ กองกำลังทหารจาก ป พันเจ็ด นำโดย ร้อยตรีมีนา แก้ววรรณะ หัวหน้าชุดปฏิบัติการผาลาด นำทหารมาร่วมกว่า 40 นาย  

                โครงการ   “ ทำแนวกันไฟและ คืนสมดุลให้ป่าด้วยจุลินทรีย์ ” กำนันสมพงค์ เจริญศิริ และชาวบ้านได้ปฏิบัติการดูแลมาอย่างต่อเนื่องทุกปี สำหรับปีนี้ ภาคเอกชนและทหารมาร่วมด้วย  ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจาก เมื่อ ปี 2567 ทางบริษัท GULF และ  CMWTE  นำองค์ความรู้ด้าน ฐานชีวภาพ และ จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ มาจัดอบรมให้กับผู้นำชุมชนและประชาชน หมู่ 8 บ้านทุ่งยาว ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ แห่งนี้ ในโครงการ  “ คืนสมดุลให้ป่าด้วยจุลินทรีย์ “  และ สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนมีองค์ความรู้เกี่ยวกับฐานชีวภาพและระบบนิเวศฯลฯ และสามารถเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ นำมาช่วยเสริมศักยภาพในการย่อยสลายสลายใบไม้จากการทำแนวกันไฟป่าให้มีการย่อยสลายได้ดียิ่งขึ้นลดการเป็นเชื้อเพลิงไฟป่าและจะสลายเป็นอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารสำหรับต้นไม้ในป่าจะช่วยให้ดินดีมีชีวิตและยังเสริมสร้างการกระจายเชื้อจุลินทรีย์ในป่าที่มีความเสื่อมโทรมจากไฟป่า การตัดไม้ทำลายป่าจนเสียสมดุลให้ฟื้นฟูได้ดีมากยิ่งขึ้น    และ วันนี้เป็นอีกกิจกรรมที่ต่อเนื่องทุกปีของชุมชนที่มีการร่วมใจกันเพื่อทำแนวกันไฟป้องกันไฟป่าและลด PM 2.5 และฟื้นฟูป่าด้วยจุลินทรีย์   ณ ป่าชุมชนบ้านทุ่งยาว  ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่      

                     นายจิรศักดิ์  มีสัตย์   กล่าวว่า บริษัท GULF และ  CMWTE  เรามาตั้งในพื้นที่ชุมชน เราตระหนักว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน .มีนโยบายชัดเจนในการร่วมกับชุมชนรักษาสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน ซึ่งป่าชุมชนนับเป็นแหล่งทรัพยากรทางเศรษฐกิจการอาชีพ และ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของชุมชน เราจึงได้อาสาเข้ามาร่วมสนับสนุนชุมชน รวมทั้งการประสานองค์ความรู้จากนักวิชาการ และหน่วยงานต่างๆ เข้ามาเสริมสร้างศักยภาพในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชุมชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นซึ่งจะสามารถพัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืนได้  รู้สึกยินดีที่เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชนและยินดีสนับสนุนชุมชนต่อไป ครับ 

                     นายสมพงค์ เจริญศิริ  กำนันตำบลป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่  กล่าวว่า ชุมชนของเรามีวิถีชีวิตอาศัยและพึ่งพาป่าชุมชนมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ป่าไม้คือชีวิตของพวกเราทุกคนช่วงที่ผ่านมามีปัญหาการทำลายป่า และเกิดความเสื่อมโทรม ฯ จึงได้รวมกลุ่มกันอนุรักษ์ฟื้นฟูป่ามาอย่างต่อเนื่องทั้งการทำแนวกันไฟป่าและการเฝ้าระวังการทำลายป่า ฯลฯ  จนมีผลงานที่สามารถขึ้นทะเบียนผืนป่าแห่งนี้เป็นป่าชุมชนที่ดูแลโดยชุมชนได้ ตาม พรบ.ป่าชุมชนได้ และอยู่ระหว่างการทำโครงการคาร์บอนเครดิตรวมทั้งการทำแนวกันไฟป่าเป็นประจำทุกปี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานทั้งภาคราชการ ท้องถิ่นและเอกชน  ประการหนึ่งที่สำคัญในกิจกรรมครั้งนี้ และการส่งเสริมสนับสนุนจาก บริษัทเชียงใหม่ เวสท์ ทู เอ็นเนอร์จี จำกัด และหน่วยงานทางวิชาการ ที่นำองค์ความรู้ด้านฐานชีวภาพ และ จุลินทรีย์ ฯลฯ เป็นมิติใหม่ที่เสริมการดำเนินงานเชิงคุณภาพต่อระบบนิเวศได้เป็นอย่างดี เพราะเดิมเรามองเชิงกายภาพและปฏิบัติการบนพื้นดินเป็นหลัก ยังไม่มีความรู้ในเชิงชีวภาพซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญมากต่อระบบนิเวศ ทำให้เรามองมิติของการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้และเข้าใจระบบนิเวศป่าไม้มากยิ่งขึ้นซึ่งมีแนวทางสู่การพัฒนาป่าชุมชนเชิงชีวนิเวศที่ยั่งยืนต่อไป  ขอขอบคุณ  GULF  และ CMWTE และหน่วยงานต่างๆที่เข้ามาร่วมสนับสนุนชุมชน ขอขอบคุณ มา ณ โอกาสนี้ด้วย ครับ ซึ่งเป็นกำลังใจและพลังที่จะขับเคลื่อนมากขึ้นครับ ขอขอบคุณ  

                      ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน    กล่าวว่า  กิจกรรมครั้งนี้ เริ่มจากการทำแนวกันไฟป่า และ ในช่วงฤดูฝนที่จะมาถึงเราจะนำองค์ความรู้จากผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยทั้งในสากลและประเทศไทย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเกษตรศาสตร์ เป็นต้น เกี่ยวกับเชื้อเห็ด ”ไมคอร์ไรซ่า ”  ซึ่งเป็นเชื้อราที่มีความสำคัญต่อระบบเครือข่ายการเชื่อมโยงการเจริญเติบโตร่วมกันของรากพืชไม้ป่า และ จุลินทรีย์ในดินชนิดต่างๆ ที่จะช่วยการเจริญเติบโต และสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช ยังช่วยสลายอินทรีย์วัตถุต่างๆเป็นธาตุอาหารให้กับพืชผ่านการอาศัยเกื้อกันกับระบบรากพืชคือ เชื้อราไมคอร์ไรซ่า กับ รากต้นไม้ ซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกันตลอดอายุขัยของพืช เป็นต้นกำเนิดของเห็ดป่านานาชนิด เช่น เห็ดผาะ เห็ด ไคล ระโงก เห็ดตับเต่า เห็ดโคนปลวก ฯลฯ  ซึ่งศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์ ได้ร่วมกับชุมชนวางแผนในการนำเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซ่า กลับคืนสู่ป่าสร้างความสมดุล มีการเพาะเชื้อใส่ในกล้าไม้ปลูกเสริมในป่า และนำเชื้อเห็ดป่าไปกระจายสู่บริเวณรากต้นไม้ในป่าเพิ่มจุลินทรีย์ในผืนป่าเสื่อมโทรมและจะนำเมล็ดพันธุ์กล้าไม้ป่านำมาแช่จุลินทรีย์เพิ่มอัตราการงอกและนำมาใส่ปั้นกับก้อนดินจุลินทรีย์และเชื้อเห็ด เพื่อนำไปกระจายสู่ป่าในช่วงฤดูฝนด้วย และ ยังมีแผนการนำเชื้อเห็ดป่าต่างๆให้ชุมชนนำไปเพาะในป่าใกล้ชุมชนและสวนไร่นา เพื่อเป็นแหล่งอาหารประเภทเห็ดในชุมชนครอบครัวจะสามารถทดแทนการเผาป่าหาเห็ดให้ลดลง อันเป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดไฟป่าด้วย เป็นแนวทางในการลดปัญหาไฟป่าและลดผลกระทบจาก PM 2.5 ได้ต่อไป   ซึ่งความสำคัญอยู่ที่ความรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยเฉพาะศุนย์เรียนรู้ฯจะเป็นกลไกการขับเคลื่อนที่สำคัญในการปฏิบัติการและต่อเนื่องได้ อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป รวมถึงภาคีความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆจะเสริมพลังได้มากยิ่งขึ้น

Visitors: 3,003,087