RATCH จับมือ GULF นำเข้า LNG ล็อตแรกสำเร็จ ป้อนโรงไฟฟ้าหินกอง นับเป็นเอกชนรายแรกของไทยที่นำเข้า LNG ตามนโยบายเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ

บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH และ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF ประสบความสำเร็จในการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เชิงพาณิชย์เที่ยวแรกปริมาณ 62,000 ตัน ผ่านทางบริษัท หินกองเพาเวอร์โฮลดิ้ง จำกัด (HKH) เพื่อป้อนโรงไฟฟ้าหินกอง หน่วยที่ 1 กำลังผลิตตามสัญญา 700 เมกะวัตต์ (MW) ที่มีแผนเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในวันที่ มีนาคมนี้ นับเป็นเอกชนรายแรกของประเทศไทยที่นำ LNG เข้ามาในประเทศ เป็นไปตามนโยบายการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ปูทางไปสู่การแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งลดความเสี่ยงในการจัดหาก๊าซธรรมชาติ เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงาน และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

 

หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้กำหนดแนวทางส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติระยะที่และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้เปิดให้เอกชนสามารถขอใบอนุญาตประกอบกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper License) เพื่อจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ โดย LNG บริษัท หินกองเพาเวอร์โฮลดิ้ง จำกัด (HKH) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนที่ RATCH ถือหุ้น 51% และ GULF ถือหุ้น 49% เป็น 1 ใน บริษัทที่ได้รับ Shipper License ในการนำเข้า LNGปริมาณ 1.4 ล้านตันต่อปี

 

นางสาวชูศรี เกียรติขจรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “โครงการโรงไฟฟ้าหินกอง จังหวัดราชบุรี มีภารกิจสำคัญในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อเสริมความมั่นคงด้านพลังงานให้กับระบบไฟฟ้าทางภาคตะวันตกของประเทศ   ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ชุด ขนาดกำลังผลิตตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ารวม 1,400 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก โดยมีบริษัท หินกองเพาเวอร์โฮลดิ้ง จำกัด เป็นผู้ดำเนินการจัดหาเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติเหลวที่มีคุณภาพและต้นทุนที่เหมาะสม ควบคุมดูแลและบริหารจัดการจัดส่งก๊าซธรรมชาติเพื่อป้อนให้กับโรงไฟฟ้าหินกองได้ตามแผนการผลิต ความสำเร็จในการนำเข้า LNG ล๊อตแรก ของ HKH วันนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการจัดหาเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติโดยผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ที่รุกเข้าสู่ธุรกิจต้นน้ำของห่วงโซ่ธุรกิจเพื่อมุ่งบริหารจัดการเชื้อเพลิง อันถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะรองรับประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตไฟฟ้าให้มีความมั่นคง และสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพ เพื่อส่งมอบให้กับ กฟผ. ได้ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะเวลา 25 ปี” 

 

นางพรทิพา ชินเวชกิจวานิชย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การที่บริษัท หินกองเพาเวอร์โฮลดิ้ง จำกัด สามารถนำเข้า LNG เที่ยวแรกได้นั้น นับเป็นความสำเร็จก้าวแรกของเอกชนตามนโยบายการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติของรัฐบาล นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของประเทศแล้ว ยังเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ที่มีความต้องการใช้ก๊าซ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมของประเทศโดยรวม โดยทาง HKH มีแผนนำเข้า LNG ประมาณ 0.64 ล้านตันในปี 2567 เพื่อป้อนโรงไฟฟ้าหินกองทั้งหมด ทำให้บริษัทสามารถบริหารต้นทุนการผลิตไฟฟ้าได้

 

นอกจากการนำเข้า LNG เพื่อนำมาใช้กับโรงไฟฟ้าหินกองแล้ว ในอนาคต GULF จะจัดหาและนำเข้า LNG ในปริมาณรวมประมาณ 7.8 ล้านตันต่อปี เพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าให้กับโครงการโรงไฟฟ้า IPP ของกลุ่มบริษัทฯ ทั้งโรงไฟฟ้ากัลฟ์ ปลวกแดง (GPD) และโรงไฟฟ้ากัลฟ์ ศรีราชา (GSRC) และจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรมของโรงไฟฟ้า SPP จำนวน 19 โครงการของกลุ่มบริษัทฯ รวมไปถึงกลุ่มของบริษัทปตท. จำหน่ายก๊าซธรรมชาติ จำกัด (PTT NGD) โดย GULF ยังมีแผนที่จะนำ LNG มาใช้บริการกับท่าเทียบเรือก๊าซและสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Terminal) ของโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ ซึ่งบริษัทฯ อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการนี้ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซีเพื่อขยายการเข้าถึง LNG ในภูมิภาคอีกด้วย” นางพรทิพา กล่าวเสริม

 

นายธนพงษ์ เจียมอนุกูลกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หินกองเพาเวอร์โฮลดิ้ง จำกัด กล่าวว่า ”HKH มีความพร้อมด้านจัดหาแหล่งเชื้อเพลิงในรูปแบบของการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวที่มีคุณภาพและมีปริมาณที่เพียงพอ สามารถรองรับความต้องการใช้เชื้อเพลิง เพื่อสนับสนุนธุรกิจด้านการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าหินกองให้เกิดความมั่นคงและมีประสิทธิภาพ โดยบริษัทได้ลงนามสัญญาซื้อขาย LNG กับ Gunvor Singapore Pte. Ltd.  ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ Gunvor Group Ltd. บริษัทชั้นนำด้านการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทพลังงาน เพื่อเป็นผู้จัดหาและนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของโครงการโรงไฟฟ้าหินกอง มีระยะเวลาสัญญา ปี  ซึ่งทาง Gunvor จะได้จัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว ประมาณ 500,000 ตันต่อปี เพื่อส่งมอบให้แก่บริษัท โดยทาง HKH จะใช้บริการสถานีแอลเอ็นจี มาบตาพุดแห่งที่ (LMPT 2) ของบริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด ในการแปรสภาพของเหลวเป็นก๊าซ และส่งเข้าระบบท่อส่งก๊าซของ ปตท.เพื่อส่งไปยังโรงไฟฟ้าหินกองต่อไป

Visitors: 2,130,787