หัวเว่ยผนึก ม.นเรศวรจัด Tech Day โชว์ศักยภาพเทคโนฯ กระตุ้นตลาดการศึกษายกเครื่องดิจิทัล

รองศาสตราจารย์ ดร.สัมฤทธิ์ โม้พวง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (ซ้าย) และนายเชลดอน หวัง รองประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด (ขวา) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ในด้านการพัฒนาและส่งเสริมทักษะทางด้านไอทีของนักศึกษาภายใต้โครงการ “Huawei ICT Academy” ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการเตรียมความพร้อมและสร้างบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

พิษณุโลก ประเทศไทย 19 กันยายน พ.ศ. 2566 – หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ประเทศไทยโชว์ศักยภาพเทคโนโลยี ประเดิมจัด Huawei Tech Day รอบภูมิภาคเป็นครั้งแรก ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อมุ่งเตรียมความพร้อมบุคลากรด้านไอซีทีและผู้เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัย ตลอดจนพาร์ทเนอร์ ให้รับทราบถึงแนวทางการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลทั่วโลก และการอัพเดทเทคโนโลยีอย่างเข้มข้นในกลุ่มโซลูชันสำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็น Huawei Wi-Fi 7, Mini-FTTO, OceanStor Dorado 2000 และ IdeaHub หัวเว่ยยังได้นำเสนอโซลูชันที่หลากหลาย เช่น สมาร์ท แคมปัสห้องเรียนอัจฉริยะ, ระบบวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง และอื่นๆ เพื่อช่วยภาคการศึกษาในการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการก้าวสู่ยุคดิจิทัล

นายเชลดอน หวัง รองประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า การเดินหน้าตามพันธกิจ “เติบโตในประเทศไทยและสนับสนุนประเทศไทย” โดยเฉพาะในภาคสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการเติบโตในทุกภาคส่วน เป็นภารกิจสำคัญ

ในฐานะผู้นำเทคโนโลยีในอุตสาหกรรม หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้ความเชี่ยวชาญที่มีมาช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลในภาคสถาบันการศึกษา โดยในงาน Huawei Tech Day ในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อนำผู้เชี่ยวชาญจากโซลูชันในกลุ่มต่างๆ มาแนะนำเทรนด์และแนวทางความเป็นไปได้ของการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้งาน

“ต้องขอขอบคุณทางมหาวิทยาลัยนเรศวรที่ให้โอกาสหัวเว่ยได้เป็นส่วนหนึ่งของก้าวสู่ดิจิทัล ซึ่งบริษัทมุ่งหวังจะเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมเพื่อให้สามารถก้าวสู่ดิจิทัลได้อย่างราบรื่น ซึ่งหัวเว่ยและมหาวิทยาลัยนเรศวรก็มีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกันนั่นคือ การสร้างระบบบริหารจัดการองค์กร โดยดิจิทัล ทรานสฟอร์เมชัน เพื่อให้มีความคล่องตัว ลดความซ้ำซ้อน ตลอดจนช่วยพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายสนับสนุนให้รองรับระบบดิจิทัลได้” นายเชลดอนกล่าว

พร้อมกันนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ในด้านการพัฒนาและส่งเสริมทักษะทางด้านไอทีของนักศึกษาภายใต้โครงการ “Huawei ICT Academy” ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการเตรียมความพร้อมและสร้างบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมไอซีทีในประเทศไทย รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) ได้สนับสนุนหลักสูตรและแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้านไอซีทีที่ครบครันด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น 5G, Cloud Computing, IoT และ Big Data เพื่อให้นักศึกษาของคณะฯ ได้สัมผัสประสบการณ์การใช้โซลูชันจริง อันจะช่วยส่งเสริมความคิดในเชิงสร้างสรรค์ ช่วยพัฒนาความรู้ในด้านเทคโนโลยี ตลอดจนช่วยส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีเฉพาะทาง พร้อมก้าวเข้าสู่สายอาชีพในภาคอุตสาหกรรมต่อไป

E ENTER NEWS : 20/09/2566

เกี่ยวกับหัวเว่ยหัวเว่ยคือผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และสมาร์ทดีไวซ์ ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.2530 โดยหัวเว่ยมีพนักงานกว่า207,000คน ดำเนินธุรกิจในกว่า170ประเทศทั่วโลก ให้บริการผู้คนมากกว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลก /วิสัยทัศน์และพันธกิจของหัวเว่ยคือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อวางรากฐานให้แก่โลกอัจฉริยะ หัวเว่ยได้ส่งมอบการประมวลผลคอมพิวเตอร์หลากหลายรูปแบบทุกที่ ทุกเวลาที่คุณต้องการ เพื่อนำเทคโนโลยีคลาวด์และความอัจฉริยะเข้าสู่ทั่วทุกมุมโลก สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลที่จะช่วยทุกภาคอุตสาหกรรม ทุกองค์กร ให้มีความยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพ และมีพลวัตร รวมทั้งสร้างนิยามใหม่ให้แก่ประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ด้วย AI เพื่อเสริมสร้างความชาญฉลาดและออกแบบให้ตอบรับกับความต้องการเฉพาะของผู้คนในทุกแง่มุมของชีวิต ทั้งการใช้ชีวิตที่บ้าน ระหว่างการเดินทาง ที่ออฟฟิศ ในการสันทนาการ หรือแม้แต่ระหว่างการออกกำลัง   

Visitors: 2,012,117